พิมพ์ใบเสร็จ-พิมพ์ใบกำกับภาษี A4A5

84 / 100 SEO Score

พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน พิมพ์ใบกำกับภาษี

ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี พิมพ์ด้วยระบบออฟเซท คมชัด รูปแบบถูกต้องตามแบบ กรมสรรพากร ทำตัวอย่างให้ลูกค้าตรวจสอบก่อนพิมพ์จริง

การค้าขายจำเป็นต้องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน เพราะเป็นเอกสารที่ผู้รับเงินต้องออกให้ลูกค้า

เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี

ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี

เรารับพิมพ์ ใบเสร็จรับเงิน-พิมพ์ใบกำกับภาษี  ใบส่งสินค้า  ใบส่งของชั่วคราว  ที่เป็นรูปเล่ม แต่ละเล่มจะมี 50 ชุด (มาตรฐาน)

แต่ละชุดมีกี่ใบ  แล้วแต่ลักษณะธุรกิจขอลูกค้า เวลาสั่งพิมพ์ควรระบุให้ชัดเจนว่ากระดาษสีอะไรอยู่แผ่นที่เท่าไร รวมทั้งแจ้งสีหมึกด้วย

ปัจจุบัน แบบฟอร์มที่ลูกค้าจะใช้เป็นกระดาษเคมีในตัว บางคนเรียกกระดาษก็อปปี้ในตัวซึ่งไมต้องใส่กระดาษคาร์บอน  ถ้าใช้กระดาษธรรมดาต้องใส่กระดาษคาร์บอนทำให้เอกสารหนาเวลาสอดเข้าพรินเตอร์พิมพ์แล้วจะไม่ชัด ทำให้มีปัญหากับสรรพากรและในกรณีที่เขียนบิลเอง ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสอดกระดาษคาร์บอนได้ด้วย

ใบกำกับภาษี

ใบเสร็จรับเงิน

กระดาษ

-กระดาษเคมีในตัว หนาประมาณ 50-55 แกรม มี สี ขาว ฟ้า เขียว ชมพู เหลือง

-กระดาษปอนด์แบงค์ 55 แกรม มี สี ขาว ฟ้า เขียว ชมพู เหลือง เช่นกัน

-กระดาษปรูฟน้ำตาล หนา 48 แกรม

นาด

โดยทั่วไป จะใช้บิลขนาด a4 (21*29.7 ซม.)

หรือ a5(21*14.85 ซม.) หรือ a6

 

การเข้าเล่ม

มีการเข้าเล่มแบบสันกาว สำหรับการกาวหัว  และแบบเย็บแม๊กซ์ สำหรับการปรุข้าง หรือปรุหัว

ใบกำกับภาษ๊

ลูกค้าสามารถให้เรารันนัมเบอร์ หรือตีเบอร์ เล่มที่เลขที่ได้  แต่เล่มที่ และ เลขที่ จะต้องอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ซม3 นิยม เอาเล่มที่ ไว้ซ้ายมือ และ เลขที่ไว้ขวามือ

นอกจากนี้ เรายังพิมพ์ บิลเงินสด ใบวางบิล ใบสำคัญจ่าย ใบสำคัญรับ และเอกสารอื่นๆที่เป็นรูปเล่ม ถ้าไม่มีสำเนาเลย จะมี 100 ใบต่อเล่ม

 

ราคาใบกำกับภาษี / บิล A4

ราคาใบกำกับภาษี

ราคาใบกำกับภาษี

 

ราคาใบกำกับภาษี / บิล A5

ราคาใบกำกับภาษี

ราคาใบกำกับภาษี

ราคาใบเสร็จรับเงิน

ราคาใบเสร็จรับเงิน

คลิกเพื่อดู          พิมพ์หัวจดหมาย      พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน

 


สารพันปัญหาใบกำกับภาษี

กรณีใบกำกับภาษี ซึ่งรายการในใบกำกับภาษีได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

มีหลักเกณฑ์และวิธีการปฎิบัติ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.46/2537 ดังนี้

  1. การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอ หรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้านตำบลหรือแขวงหรือจังหวัดใหม่

    2. การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขต หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
    3.
    การแก้ไขเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษีพร้อมลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข หรือประทับตรายางประจำตัวผู้เสียภาษี อากรที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่ เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่กรมสรรพากรได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้ใหม่


กรณีบริษัท /ห้าง จดเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานประกอบการแล้ว แต่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อระบุที่อยู่เดิม ควรปฏิบัติอย่างไร

1.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อหรือที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มี
อำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/6
แล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามชื่อหรือที่อยู่ที่
เปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ถ้าผู้ประกอบการได้รับใบกำกับภาษีซื้อในชื่อเดิมหรือ
ที่อยู่เดิม ผู้ประกอบการไม่มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อ
จะต้องให้ผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อฉบับนั้นยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม และ
จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้


กรณีถูกร้องขอให้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเนื่องจากมีข้อผิดพลาด
ในรายละเอียดของใบกำกับภาษีควรปฏิบัติอย่างไร

1.วิธีการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่
1.1
เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือขีดฆ่า 
แล้วเก็บต้นฉบับรวมไว้ในสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม
1.2
จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวันที่  เดือน ปี ให้
ตรงกับ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษัฉบับเดิม และระบุหมายเหตุไว้            ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับ              ใหม่แทนฉบับ เดิม   เลขที่ เล่มที่…” และหมายเหตุการณ์              ยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับ            ภาษีฉบับใหม่ด้วย


       
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี
ระบบซอฟท์แวร์ในระบบงานจัดทำใบกำกับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชี แยกประเภท
อัตโนมัติ ถ้าระบบซอฟท์แวร์ดังกล่าวไม่สามารถระบุ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม ลงในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้
ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ เพื่อให้สามารถระบุวันที เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมได้

 

 


กรณีใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ที่บริษัท / ห้าง ได้ออกให้ลูกค้าแล้ว และลูกค้าแจ้งกลับมาเอกสารดังกล่าวสูญหาย ขอให้ออกฉบับใหม่ให้ ควรปฏิบัติอย่างไร


1. 
ให้ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ที่ทางบริษัท / ห้างมีสำเนาเก็บไว้ 
2. 
ให้บันทึกรายการต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว
2.1 
ออกใบแทน  ออกให้ครั้งที่
2.2 
วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
2.3 
อธิบายอย่างย่อ ๆ ถึงสาเหตุการออกใบแทน
2.4 
ลายมือชื่อผู้ออกใบแทน ให้ผู้ออกใบแทนบันทึกรายการ ออกใบแทนใน
รายงานภาษีขาย ในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่เล่ม        ที่ วันที่ออกใบกำกับภาษี  ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทน
นั้นด้วย


กรณีซื้อสินค้าและได้ใบกำกับภาษีมา เมื่อตรวจสอบกับ ทะเบียน ภ..20 ที่ผู้ขายแนบมาเป็นหลักฐาน  มีรายละเอียดที่ตั้งบริษัทไม่ตรงกับใบ ภ..20 ที่แนบมาด้วยกัน จะทำอย่างไร

มีปัญหาว่า หากใบกำกับภาษีมีความไม่ตรงกับในทะเบียน ภ..20
เช่น ใบทะเบียน ภ..20 มีชื่อ…….เลขที่ ถนน…..ตำบล….จังหวัด    
แต่ใบกำกับภาษีมีแต่ ชื่อ………..เลขที่…..ถนน….ตำบล….ไม่มีชื่อจังหวัด


ดังนี้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจะนำไปหักได้หรือไม่


ปัญหานี้ กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัตืไว้แล้ว ว่าหากผู้ซื้อสินค้าสามารถ
พิสูจน์ได้ว่าผู้ค้าเป็นใคร ผู้ซื้อก็มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหัก
ในการคำนวณภาษีได้  แต่ผู้ออกใบกำกับภาษียังมีความผิดทางอาญา ฐานออก
ใบกำกับภาษีมีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ราคาบิล แบบไม่มีก๊อปปี้ในตัว
บิล พิมพ์ใบเสร็จ พิมพ์ใบกำกับภาษี
พิมพ์ใบเสร็จ พิมพ์ใบกำกับภาษี บิล
Total Page Visits: 9826 - Today Page Visits: 4

Related Posts

Call Now Buttonโทรเลย
error: Content is protected !!